- English
- ภาษาไทย
การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิรักษ์เด็ก สามัญประจำปี พ.ศ.๒๕๖๔
การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิรักษ์เด็ก สามัญประจำปี พ.ศ.๒๕๖๔
วันจันทร์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
ณ สำนักงานมูลนิธิรักษ์เด็ก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
•วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งให้ทราบ
๑.๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ
๑.๒ แนะนำตัวเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมการประชุม
•วาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิรักษ์เด็ก สามัญ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
•วาระที่ ๓ รายงานผลการดำเนินงานของมูลนิธิรักษ์เด็ก ปี พ.ศ.๒๕๖๓
โดย กรรมการและเลขาธิการ
๓.๑. เรื่องรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการต่างๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ และ แผนการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ปี ๒๕๖๔
๑. โครงการ “ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยและเด็กเปราะบางในพื้นที่ห่างไกล”(J&J Extension Project)
๒. โครงการ “เสริมพลังชีวิตเด็กชาติพันธุ์ : ส่งเสริมสิทธิเด็ก เน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ การเข้าถึงบุคคล และได้รับการคุ้มครองจากการแสวงหาประโยชน์ทาง เพศและกระบวนการค้ามนุษย์” (EICE/PROCEED)
๓. โครงการ “สนับสนุนการรักษาโรคหัวใจแก่เด็กและครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากลำบาก” (PFCP)
๔. โครงการ “พัฒนาเยาวชน อำเภอฝาง” จังหวัดเชียงใหม่ (DMAP)
๕. โครงการ “การประชุมตัวแทนเด็กในประเทศไทยและการเสวนาโต๊ะกลมร่วมกับหน่วยงานรัฐบาล ธุรกิจเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคม ในประเด็นสิทธิเด็กในสภาพแวดล้อม ดิจิทัล (โลกเสมือนจริง)”
๖. โครงการ “เสริมพลังแก่กลุ่มผู้หญิงพึ่งตนเองเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาแก่ลูกหลาน” (MWEC)
๗. โครงการ “สื่อสารความเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคโควิด 19” (RISK COM/COVID-19)
๘. โครงการ “สนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ : ภาคเหนือ (จังหวัดแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่)”
๙. งานบริการจัดการอบรม สัมมนาแก่องค์กรและหน่วยงานภายนอก
๑๐.ทุนยังชีพจากกองทุนของมูลนิธิรักษ์เด็ก
(TLSDF’s Living Fund)
๑๑. ทุนการศึกษาต่อเนื่อง ม.๑ ถึง ม.๓ โดยเงินได้จากกองทุนจัดตั้งมูลนิธิรักษ์เด็ก
๓.๒. งานบัญชีการเงินและทรัพย์สินองค์กร
•๑. งบดุลและงบรับจ่ายประจำปี ๒๕๖๓
•๒. ทรัพย์สินและครุภัณฑ์ของมูลนิธิฯ
วาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา
๔.๑ แผนงานและงบประมาณประจำปี ๒๕๖๔
วาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ
๕.๑ การนัดหมายประชุมครั้งต่อไป
๕.๒ ...............................................
ทักษะชีวิตเพื่อสิทธิเด็ก “ทุกคน”
มุ่งมั่นให้เด็กทุกคนเข้าถึงสิทธิ ตามหลักการและข้อบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เน้นทำงานกับกลุ่มเด็กที่เสียเปรียบในสังคม ส่งเสริมการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ทักษะชีวิต
กลไกการปกป้องคุ้มครองเด็ก โดยร่วมดำเนินงานกับชุมชนและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ในฐานะผู้ให้สิทธิ (Duty Bearer) ด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มเปี่ยมตามหลักธรรมาภิบาล
พื้นที่ที่รับผิดชอบดำเนินงานโครงการ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำพูน และเชียงใหม่