ข้อความผิดพลาด

  • Deprecated function: implode(): Passing glue string after array is deprecated. Swap the parameters ใน drupal_get_feeds() (บรรทัด 394 ของ /home/avonet/domains/rakdek.or.th/public_html/includes/common.inc)
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls ใน menu_set_active_trail() (บรรทัด 2404 ของ /home/avonet/domains/rakdek.or.th/public_html/includes/menu.inc)

โครงการพัฒนาเยาวชนอำเภอฝาง ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕/ DMAP by UNICEF Thailand

2. โครงการพัฒนาเยาวชนอำเภอฝาง ระหว่างปี พ.ศ. 2561 – 2565/ DMAP by UNICEF Thailand

                      โครงการฯได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจากองค์การยูนิเซฟประเทศไทย (UNICEF) มุ่งเน้นการดำเนินงานส่งเสริมความก้าวหน้าด้านอาชีพการงานแก่เยาวชน อายุ 10 – 24 ปี ทั้งเยาวชนไทยและเยาวชนข้ามชาติ ด้วยการฝึกอบรมหลักสูตรทักษะวิชาชีพระยะสั้นระหว่างเรียนระดับชั้นมัธยมต้น และนอกระบบโรงเรียน รวมถึงเนื้อหาที่สนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นผู้ประกอบการ ทั้งนี้ภายใต้ความร่วมมือกับชุมชน โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีวศึกษา และภาคธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์หลักในการดำเนินงานโครงการฯ คือระดมและพัฒนารูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม (Public, Private and Civil Society Organizations) เพื่อระดม พัฒนารูปแบบการทำงานร่วมกัน เติมเต็มศักยภาพ และสร้างความก้าวหน้าด้านอาชีพการงานแก่เยาวชน

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลการดำเนินงานโดยภาพรวม

  • มีเยาวชนที่กำลังเรียนชั้นมัธยมตอนต้น โรงเรียนขยายโอกาสในพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอฝาง ผ่านการเข้าร่วมอบรมทักษะวิชาชีพระยะสั้น โดยใช้หลักสูตรของวิทยาลัยการอาชีพฝางร่วมกับความชำนาญของคณะครูในโรงเรียนพันธมิตรเจ็ดแห่งและการสนับสนุนจากเครือข่ายของชุมชนในแต่ละตำบล จำนวน 1,272 คน คิดเป็นร้อยละ 70 ที่เรียนต่อสายอาชีพ และ ร้อยละ 90 เรียนต่อรวมสายสามัญและสายอาชีพ

 

  • มีนักเรียนที่ผ่านการอบรมหลักสูตรทักษะวิชาชีพระยะสั้น ได้รับใบประกาศนียบัตรที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จำนวน 1,010 คน เพื่อประโยชน์ในการหางานในอนาคต
  •  
  • ส่งเสริมอาชีพให้แก่เยาวชนที่เป็นลูกหลานของคนงานข้ามชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเปราะบางนอกโรงเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนกลุ่มนี้สามารถเพิ่มรายได้จากงานที่ทำอยู่แล้ว และหารายได้เสริมด้วยทักษะอาชีพใหม่ หรือได้งานทำกับสถานประกอบการที่ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จำนวน 30 คน
  •  
  • มีเยาวชนนอกโรงเรียนที่ครอบครัวยากลำบากขาดแคลน จำนวน ๖ ราย ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรพนักงานผู้ช่วยทางการพยาบาล 6 เดือน ซึ่งขณะนี้มีงานทำแล้ว 5 ราย เสียชีวิตจากโรคแพ้ภูมิตนเอง 1 ราย

  • เกิดเครือข่ายแกนนำเยาวชนข้ามชาติ MYL ในพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอฝาง ที่ทำงานให้ความช่วยเหลือเพื่อนๆในชุมชนของตนเอง จำนวน 60 คน

 

  • มีคณะทำงานจิตอาสาชุมชนในพื้นที่ 5 ตำบล ที่ทำงานให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน รวมถึงช่วยค้นหาเยาวชนนอกโรงเรียนให้เข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมการส่งเสริมอาชีพ จำนวน 62 คน

 

  • มีเด็กและเยาวชนที่ได้รับช่วยเหลือเร่งด่วนจากภาวะความยากลำบากต่าง ๆ จำนวน 782 คนและได้รับการสนับสนุนในการขอทุนการศึกษาต่อระยะยาว (ปวช. / ป.ตรี) หลังจบ ม.3 และ ม.6  จำนวน 13 คน

 

  • มีคณะอนุกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนอำเภอฝาง ภายใต้โครงสร้างคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่อำเภอฝาง       

 

 

 

 

ความสำเร็จที่สำคัญของโครงการ

  1. การประสานความร่วมมือกับโรงเรียนขยายโอกาสที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ในพื้นที่เป้าหมายของโครงการ ให้จัดหลักสูตรทวิศึกษาร่วมกับวิทยาลัยการอาชีพฝาง ในการส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนที่เป็นบุตรหลานแรงงานข้ามชาติ และเยาวชนท้องถิ่นไทย ให้มุ่งสู่การเรียนสายอาชีพในขณะเดียวกันทำให้เยาวชนมีรายได้ระหว่างเรียน และมีโอกาสริเริ่มกิจการหารายได้ขนาดเล็กของตนเอง และหรือได้ทำงานกับผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่นเป็นพื้นฐานความก้าวหน้าด้านอาชีพ พร้อมทั้งได้มีการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม (PPC) ในการระดมความคิด พัฒนารูปแบบการทำงานสร้างความก้าวหน้าด้านอาชีพแก่เยาวชนในพื้นที่อำเภอฝาง
  2. คณะอนุกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนอำเภอฝาง ภายใต้โครงสร้างคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต             อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่อำเภอฝาง
  3. การประสานความร่วมมือกับเจ้าของสถานประกอบการในพื้นที่ ในการส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพเยาวชนนอกโรงเรียน ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง จะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีงานให้แก่เยาวชนมากขึ้น และเยาวชนที่ฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ เป็นที่ได้รับความไว้วางใจของเจ้าของสถานประกอบการ จึงทำให้เกิดการจ้างงานต่อ ทำให้เยาวชนมีอาชีพ มีรายได้ และกลายเป็นแรงงานที่มีฝีมือ
  4. ในการทำงานบนพื้นฐานขององค์กรภาคีเครือข่ายในพื้นที่ จะประสบความสำเร็จในการดำเนินงานปกป้องคุ้มครองเด็ก และการช่วยเหลือรายกรณีฉุกเฉิน ทำให้เกิดความรวดเร็วในการช่วยเหลือ ส่งต่อเด็กรายกรณี และสร้างให้เกิดความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลเด็กและเยาวชนในชุมชนผ่านกลไกคณะทำงานจิตอาสาชุมชนในพื้นที่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Tags: