โครงการสนับสนุนการรักษาโรคหัวใจแก่เด็กและครอบครัวที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก
ผลการดำเนินงาน มูลนิธิรักษ์เด็ก พ.ศ. 2565
1.โครงการสนับสนุนการรักษาโรคหัวใจแก่เด็กและครอบครัวที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก
(PFCP by EDWARDS and Daiichi Sankyu)
โครงการฯได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจากบริษัท Edwards Lifesciences Foundation และบริษัท ไดอิจิ ซังเคียว (ประเทศไทย) จำกัด มุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ที่ประสบปัญหาความยากจน ขาดแคลนทุนทรัพย์ อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร ตลอดจนความยากลำบากในการเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลที่มีแพทย์พยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคหัวใจ และมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยให้การสนับสนุนค่ารักษาในการผ่าตัดหัวใจ เป็นการสนับสนุนค่ารักษาส่วนเกินนอกเหนือจากสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีสิทธิบัตรประสุขภาพถ้วนหน้าและสนับสนุนค่าผ่าตัดหัวใจแก่ผู้ป่วยในรายที่ไม่มีสิทธิบัตรประสุขภาพถ้วนหน้าและการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะเสี่ยงอันอาจจะเกิดขึ้นจากโรคหัวใจ
ผลการดำเนินงานทั่วไป
- ผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคหัวใจที่อยู่ในภาวะยากลำบากได้รับ การผ่าตัด จำนวน 29 ราย
- ผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจที่อยู่ในภาวะยากลำบากได้รับการผ่าตัด จำนวน 7 ราย
- โครงการฯ ร่วมกับโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ไปออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อคัดกรองผู้ป่วยโรคหัวใจเด็กและผู้ใหญ่ จำนวน 1 ครั้ง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านเมืองงาม ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ จำนวน จำนวน 321 คน
-
มอบอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ประกอบด้วย หน้ากากอนามัย สบู่ เจลล้าง มือ ทิชชู่เปียก แผ่นพับเอกสารความรู้เรื่องเกี่ยวกับโรคไวรัสโควิด-19 แก่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโรคหัวใจ และเข้ารับการตรวจคัดกรอง จำนวน 2,100 คน
- จัดบูทกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ใน “วันหัวใจโลก” (World Heart Day) ร่วมกับโรงพยาบาลนครพิงค์ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้มารับความรู้และร่วมกิจกรรมจำนวน 200 คน
- เยี่ยมบ้านผู้ป่วยหลังการผ่าตัดโรคหัวใจเพื่อติดตามด้านสุขภาพ เพื่อให้ กำลังใจ และคำแนะนำการดูแลตนเองหลังการผ่าตัดโรคหัวใจ และให้ข้อมูลความสำคัญเรื่องการเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด - 19 ซ้ำ
ความสำเร็จที่สำคัญของโครงการ
ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ มูลนิธิรักษ์เด็กได้ติดตามด้วยการจัดเก็บข้อมูลเชิงลึกผู้ป่วยโรคหัวใจที่ผ่านการผ่าตัดรายบุคคลและครอบครัวเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดหัวใจ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ด้วยการทานยาให้ตามแพทย์สั่ง การพักผ่อนให้เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทั้งผู้ป่วยและคนในครอบครัวได้เล็งเห็นความสำคัญและกำชับดูแลคนผู้ป่วยใกล้ชิดมากขึ้น และให้ความสำคัญเรื่องการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ เข็มกระตุ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดมีความปลอดภัยและสามารถใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวได้อย่างเป็นปกติ จำนวนทั้ง ๓๖ คน และนอกจากนี้ยังพบว่า กิจกรรมการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนเพื่อบริการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคหัวใจหรือผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ที่ในพื้นที่ห่างไกลไปยังสถานที่สาธารณะหรือแหล่งชุมชน ช่วยให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ประชาชนมีความสนใจพาบุตรหลานและนำพาตนเองมารับบริการตรวจคัดกรองเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นแผนบูรณาการร่วมมือระหว่างมูลนิธิรักษ์เด็กและโรงพยาบาลเครือข่ายจัดทำกิจกรรมด้านสุขภาพที่เป็นการบริการเชิงรุก ทั้งหน่วยงานภาคีและประชาชนต่างสะท้อนว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์อย่างยิ่ง อยากให้มีการดำเนินการต่อทุกปีต่อไป