Error message

  • Deprecated function: implode(): Passing glue string after array is deprecated. Swap the parameters in drupal_get_feeds() (line 394 of /home/avonet/domains/rakdek.or.th/public_html/includes/common.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2404 of /home/avonet/domains/rakdek.or.th/public_html/includes/menu.inc).

ไวรัสน้องใหม่จากตระกูลดังที่มนุษย์ทำให้เป็นโรคระบาด

ไวรัสน้องใหม่จากตระกูลดังที่มนุษย์ทำให้เป็นโรคระบาด
                                                                                                                           อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ
ปี 2020 เริ่มต้นด้วยโรคระบาดที่มีคนติดเชื้อเกินกว่าสองหมื่นคนภายในเวลาเดือนเศษๆ มีผลให้ประเทศจีนต้อง
ปิดประตูเมืองหลายเมืองไม่ให้คนเข้าหรือออกเพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายของคนจำนวนหลายล้านคนที่จะทำให้การระบาด
รุนแรงมากยิ่งขึ้น
โรคระบาดดังกล่าวเกิดจากไวรัสใหม่ที่ได้รับชื่อว่า ไวรัสโคโรนาใหม่ของปี 2019 (novel coronavirus of 2019)
ซึ่งเป็นชื่อที่สะท้อนว่าไวรัสนี้เป็นที่รู้กันเมื่อทำให้คนติดเชื้อในปลายปี 2019 ในต1 ลาดอาหารทะเลและสัตว์ป่าเป็น (หรือยัง
มีชีวิตอยู่) ของเมืองอู่ฮั่น (Wuhan) มณฑลหูเป่ย์ (Hubei province) ไวรัสใหม่นี้เป็นไวรัสในตระกูลโคโรนาที่เป็นไวรัสที่
มีชื่อเสียงโด่งดัง (หรือดุดัน) อยู่ก่อนแล้ว
ในช่วงปี 2002-2003 โรคระบาดซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome - SARS ) มีคนติดเชื้อจากทั่ว
โลก 8,098 คนและมีคนตาย 774 คน (อัตราการตาย 10%) ก็มีสาเหตุมาจากไวรัสในตระกูลโคโรนา และในปี 2012 โรค
ระบาดเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome - MERS) ที่เริ่มจากคาบสมุทรอาราเบีย (Arabian Penninsula)
และในปัจจุบันก็ยังอ้อยอิ่งอยู่มีคนติดเชื้อ 2,494 คนและตาย 858 คน (อัตราการตาย 37%) เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ก็เกิดจากไวรัสตระกูลโคโรนาเช่นกัน
ไวรัสโคโรนาใหม่ของปี 2019 ที่ถึงแม้ว่าจะได้ชื่อใหม่แต่ไม่ใช่ไวรัสใหม่จริงๆเสียทีเดียว ในนสพ. The New
York Times ฉบับออนไลน์ของวันที่ 28 มกราคม 2563 มีบทความโดยเดวิด ความเมน (David Quammen)2 เกี่ยวกับ
ไวรัสใหม่นี้ที่อธิบายว่าถึงแม้ว่าไวรัสใหม่นี้อาจเริ่มจากค้างคาวก็ตามแต่มนุษย์เป็นคนสร้างโรคระบาดนี้เอง
3เดวิด ความเมนเอ่ยว่าเมื่อหลายปีมาแล้วทีมนักวิจัยชาวจีนที่มีประสบการณ์และความเข้าใจเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา
ที่เป็นสาเหตุของโรคระบาดซาร์สเป็นอย่างดีพบไวรัสที่มีลักษณะคล้ายกับไวรัสโคโรนาใหม่ของปี 2019 เป็นอย่างมากใน
ถ้ำแห่งหนึ่งในมณฑลยูนนาน (Yunnan) และทีมนักวิจัยดังกล่าวมีความกังวลเกี่ยวกับไวรัสใหม่ที่พบในถ้ำนี้มาก
ผู้เขียนเน้นว่าการแพร่ระบาดของไวรัสใหม่นี้ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วมากนั้น - จำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการวินิจฉัย
ยืนยันมากกว่า 31,161 คน และผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 636 คน จาก 27 ประเทศเมื่อวันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 ส่วนมากผู้
ติดเชื้ออยู่ในประเทศจีนซึ่งการแพร่เชื้อเป็นไปอย่างรวดเร็วมากมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นทั้งประเทศจีน 3,100 ราย และผู้
เสียชีวิตรายใหม่ 70 คนภายใน 24 ชั่วโมง (วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563) จะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ4 - เป็นเรื่องที่น่าตกใจแต่
ไม่ใช่เรื่องที่ไม่คาดกันมาก่อนเกี่ยวกับการที่ไวรัสที่ออกมาจากสัตว์ที่อาจเป็นค้างคาว และทำให้สัตว์อีกชนิดหนึ่งติดเชื้อ
ไวรัสนั้นก่อนที่จะผ่านมาถึงคนที่ฟังดูแล้วเป็นเรื่องน่ากลัว แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องประหลาดใจสำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษา
เกี่ยวกับเรื่องนี้แต่อย่างใด
นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนที่เป็นคนตั้งชื่อให้แก่ไวรัสโคโรนาที่พบใหม่นี้คือ ดร. ชิ เซ็งลิ (Zheng-Li Shi) จากสถาบัน
ไวรัสวิทยาอู่ฮั่น (Wuhan Insititute of Virology) ดร. ชิ เซ็งลิและทีมงานระบุไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคระบาดซาร์สเมื่อปี
2005 เป็นไวรัสจากค้างคาวที่ข้ามมาสู่คน และได้ติดตามศึกษาโคโรคนาไวรัสในค้างคาวตั้งแต่นั้นมา และดร. ชิได้เตือน
อยู่เสมอว่าไวรัสโคโรนาบางชนิดมีคุณสมบัติที่เป็นพิเศษต่างจากไวรัสอื่นและเหมาะสมต่อการก่อให้เกิดโรคระบาดระดับ
พหุทวีป (pandemics) ในคน5
เดวิด ความเมนอ้างถึงร่างเอกสารวิชาการของปี 2017 ที่ยังไม่ได้ผ่านการทบทวนโดยเพื่อนวิชาชีพด้วยกัน (หรือ
peer review) และยังไม่ได้เผยแพร่อย่างเป็นทางการซึ่งในเอกสารวิชาการนี้ ดร. ชิและทีมวิจัยอธิบายว่าทีมวิจัยใช้เวลา
เกือบห้าปีในการรวบรวมตัวอย่างขี้ของค้างคาวชนิดต่างๆในถ้ำแห่งหนึ่งในมณฑลยูนนาน ทีมวิจัยพบไวรัสโคโรนาใน
ค้างคาวหลายตัวที่มาจากสี่สปีชีส์ (species) รวมทั้งค้างคาวมงกุฎเทาแดงหรือค้างคาวเกือกม้า (intermediatehorseshoe bat) และจากการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งที่ชีวิตหรือที่เรียกว่าจีโนม (genomre) ของไวรัสนั้น ดร. ชิ
และทีมวิจัยระบุว่าไวรัสที่พบในค้างคาวนั้นเหมือนกับไวรัสโคโรนาของปี 2019 ที่เริ่มระบาดในอู่ฮั่นถึง 96% และไวรัสทั้ง
สองชนิดนี้แตกต่างไปจากไวรัสโคโรนาอื่นๆที่เป็นที่รู้จักกันอยู่รวมถึงไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคระบาดซาร์สด้วย ซึ่งเดวิด
ความเมนชี้ว่าในความหมายนี้แล้วถือได้ว่าไวรัสโคโรนาใหม่ของปี 2019 (novel coronavirus of 2019) เป็นไวรัสที่ค้นพบ
ใหม่ และเขาเสริมต่อว่าไวรัสใหม่นี้อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์มากกว่าไวรัสโคโรนาชนิดอื่6 น โดยอธิบายเพิ่มเติมว่าการที่
เขาใช้คำว่า “อาจ” เป็นเพราะว่าเรายังไม่รู้แน่และไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่นอนว่าไวรัสชนิดนี้จะเป็นอันตรายแค่ไหนเพราะ
ว่าการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆของไวรัสนั้นมักจะนำไปสู่การกลายพันธุ์ของตัวมันเองด้วย และการกลายพันธุ์นี้อาจเป็นไป
อย่างรวดเร็ว ดังที่เป็นที่รู้กันเกี่ยวกับไวรัสเอชไอวีหรือเชื้อโรคดื้อยาอื่นๆ

ดร. ปีเตอร์ ดาส์แซ็ก (Dr. Peter Daszak) ประธานขององค์กรวิจัยเอกชนที่เรียกว่า EcoHealth Alliance ในเมือง
นิวยอร์คที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสุขภาพของสัตว์ป่าและเป็นภาคีคนหนึ่งของ ดร. ชิ มาเป็น
เวลานานเอ่ยอย่างผิดหวังกับเดวิด ความเมนว่าพวกเรายกธงแดงเตือนเกี่ยวกับไวรัสเหล่านี้มาเป็นเวลาร่วม 15 ปีแล้ว ดร.
ปีเตอร์ ดาส์แซ็กเป็นผู้วิจัยและคนเขียนเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยระหว่างค้างคาวกับโรคระบาดซาร์สร่วมกับ
ดร. ชิ เมื่อปี 2005 และเอกสารวิชาการเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาชนิดใหม่เกี่ยวกับไวรัสหลายชนิดที่คล้ายคลึงกับไวรัสซาร์สที่
พบในถ้ำของยูนนานด้วย

 

 

 

 

 

 

 

ดร. ปีเตอร์ ดาส์แซ็กเล่าว่าในการศึกษาเกี่ยวกับไวรัสโคโรนานั้นทีมภาคสนามได้เก็บตัวอย่างเลือดจากคนในยูน
นานกว่าสองพันคนซึ่งประมาณ 400 คนอาศัยอยู่ใกล้ถ้ำดังกล่าว และพบว่าประมาณ 3% ของคนที่อาศัยอยู่ใกล้ถ้ำนั้นมี
ภูมิต้านทานต่อไวรัสโคโรนาที่เกี่ยวข้องกันโรคซาร์ส แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าคนเหล่านั้นป่วยหรือไม่ และไม่สามารถบอก
ได้ว่าคนเหล่านั้นมีโอกาสสัมผัสกับไวรัสเมื่อเป็นเด็กอยู่หรือเมื่อโตแล้ว แต่สิ่งที่นักวิจัยบอกได้แน่นอนคือไวรัสเหล่านี้ได้
กระโดดจากค้างคาวมาสู่คนแล้วหลายๆครั้งซ้ำกัน (ดูหมายเหตุ 6 เกี่ยวกับการเกิดไวรัสชนิดใหม่)
สิ่งที่ทีมวิจัยที่นำโดย ดร. ปีเตอร์ ดาส์แซ็กค้นพบทำให้เดวิด ความเมนกล่าวว่าหากเป็นเช่นนั้นแล้วการระบาดใน
อู่ฮั่นครั้งนี้ไม่ใช้ปรากฏการณ์ใหม่เลยแต่มันเป็นลำดับหนึ่งของภาวะฉุกเฉินที่ย้อนหลังไปในอดีตและจะยืดต่อไปในอนาคต
หากว่าสถานการณ์ในปัจจุบันยังคงเป็นเช่นนี้อีกต่อไป
สถานการณ์ปัจจุบันดังกล่าวรวมถึงการค้าขายสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหารซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก เพราะเครือข่าย
หรือเส้นใยการค้าขายสัตว์ป่านั้นยืดข้ามทวีปเอเซีย อาฟริกา อเมริกา และอื่นๆ และเนื่องจากภาวะฉุกเฉินในปัจจุบัน
ประเทศจีนได้ห้ามการค้าขายสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหาร แต่การห้ามนี้เป็นเพียงมาตรการชั่วคราวเท่านั้นซึ่งในการระบาดของ
โรคซาร์สรัฐบาลจีนในขณะนั้นก็ทำการห้ามการค้าขายสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหารอย่างชั่วคราวเช่นกัน แต่หลังจากนั้นการห้าม
ชั่วคราวนั้นก็ถูกยกเลิกไป และในตลาดอาหารทะเลและสัตว์ป่าที่อู่ฮั่นมีสัตว์ป่านานาชนิดรวมถึงค้างคาว อีเห็น เม่น เต่า อ้น
เล็ก (bamboo rat) นกชนิดต่างๆ และสัตว์เหล่านั้นถูกกองซ้อนทับๆกันอยู่และต้องสัมผัสกับขี้และฉี่ของของสัตว์อื่นๆที่อยู่
ในกรงชั้นบน สภาพเช่นนี้เป็นเรื่องปกติในตลาดประเภทนี้ทั้งในจีนและประเทศข้างเคียง
เดวิด ความเมนอธิบายต่อว่าจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นและจำนวนคนยากจนที่ต้องการอาหารหรือรายได้
มีเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันคนที่มีรายได้มากสามารถซื้ออาหารที่หายากหรือแปลกมากินได้ รวมทั้งสัตว์ป่าหายาก ก็มี
เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ประกอบกับวิวัฒนาการของการเดินทางทำให้คนจำนวนมากสามารถเดินทางโดยเครื่องบินไปตามที่
ต่างๆได้ทั่วโลกอย่างสะดวก รวดเร็วและราคาไม่แพงจนเกินไป ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ส่งผลกระทบรบกวนระบบนิเวศของโลก
ซึ่งผลที่ตามมาคือการแลกเปลี่ยนไวรัสมีมากขึ้น โดยเริ่มจากสัตว์สู่มนุษย์ ตามด้วยมนุษย์สู่มนุษย์ และในหลายๆกรณีนำไป
สู่โรคระบาดที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกหรือโรคระบาดระดับพหุทวีป (pandemic)

เมื่อคนบุกรุกป่าเขตร้อนหรือพื้นที่ธรรมชาติต่างๆที่มีพืชและสัตว์มากมายหลายชนิดอาศัยอยู่ซึ่งสัตว์เหล่านั้นมี
ไวรัสที่มนุษย์ไม่รู้จักอาศัยอยู่มากมายเช่นกัน เดวิด ความเมนเปรียบเทียบว่าการฆ่าสัตว์ป่าหรือนำเอาสัตว์ป่าเหล่านั้นมาขัง
ไว้ในกรงและส่งไปขายตามตลาดต่างๆเหมือนกับการเขย่าให้ไวรัสต่างๆที่อาศัยอยู่ในสัตว์ป่าหลุดออกมาทำให้ไวรัสเหล่า
นั้นต้องหาแหล่งที่อยู่ใหม่ และบ่อยครั้งแหล่งที่อยู่ใหม่ของไวรัสคือมนุษย์
ตัวอย่างของไวรัสจากสัตว์กระโดดข้ามไปสู่มนุษย์มีมากมาย เดวิด ความเมนยกตัวอย่างประกอบซึ่งนับตั้งแต่โรค
มาชูปู (Machupu) ในประเทศโบลิเวีย (Bolivia) เมื่อปี 1961 โรคระบาดมาร์บูร์ก (Marburg) ประเทศเยอรมันนีเมื่อปี
1967 โรคระบาดอีโบลา (Ebola) ในประเทศซาอีร์ (Zaire) และซูดาน (Sudan) เมื่อปี 1976 โรคระบาดเอชไอวีที่ถูกพบเมื่อ
ปี 1981 ในเมืองนิวยอร์ค (New York) และรัฐคาลิฟอร์เนีย (California) สหรัฐอเมริกา โรคฮันตา (Hanta) หรือในปัจจุบัน
เรียกว่าซิน นอมเบร (Sin Nombre - ภาษาเสปนหมายถึง “ไม่มีชื่อ”) ที่เกิดขึ้นในเขตสงวนสำหรับชนเผ่านาวาโฮ (Navaho
Reservation) ในเขตตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1993 โรคเฮนดรา (Hendra) ในประเทศออสเตรเลียเมื่อปี
1994 ไข้หวัดนก (bird flu) ที่ฮ่องกงเมื่อปี 1997 โรคระบาดนิปาห์ (Nipa) ในประเทศมาเลเซียเมื่อปี 1998 โรคเวสต์ไนล์
(West Nile) ในนิวยอร์คเมื่อปี 1999 โรคระบาดซาร์ส (SARS) ในประเทศจีนระหว่างปี 2002-3 โรคระบาดเมอร์ส (MERS)
ในประเทศซาอุดิอาราเบียเมื่อปี 2012 โรคอีโบลาอีกรอบในอาฟริกาตะวันตกเมื่อปี 2014 และปัจจุบัน nCoV-2019 (หรือ
ไวรัสโคโรนาใหม่ของปี 2019)รายการนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างซึ่งเดวิด ความเมนบอกว่าเหมือนกับเสียงกลองเตือนให้มนุษย์รู้ซ้ำๆกันตั้งแต่อดีต
จนถึงขณะนี้
นอกจากนั้นแล้วเดวิด ความเมนเพิ่มเติมว่าสถานการณ์ปัจจุบันยังรวมถึงข้าราชการที่โกหกและปกปิดข่าวร้าย
และนักการเมืองที่โอ้อวดว่าการเปิดพื้นที่ป่าและการตัดต้นไม้เป็นการสร้างงานให้แก่อุตสาหกรรมป่าไม้และเกษตรกรรม
หรือที่โอ้อวดเกี่ยวกับการประหยัดงบประมาณด้วยการตัดงบประมาณสำหรับสาธารณสุขและการวิจัย และย้ำว่าระยะทาง
ระหว่างเมืองอู่ฮั่นหรือป่าอเมซอนไปถึงเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ต่างๆในทวีปอื่นนั้นสั้นมากสำหรับไวรัส เและเมื่อคำนึงถึง
การที่ไวรัสสามารถเดินทางไปกับคนเดินทางโดยเครื่องบินแล้วระยะทางนั้นวัดได้เป็นชั่วโมง
การระบาดของไวรัสโคโรนาใหม่นี้รัฐบาลจีนได้รับคำชมมากมายว่าได้เรียนรู้จากโรคซาร์ส (ที่รัฐบาลจีนสมัยนั้น
พยายามปกปิดเรื่อง) และไม่ทำผิดซ้ำอีกในการแพร่ระบาดครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับจีโนมของไวรัส
ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกทำให้การตอบสนองต่อปัญหาเร็วขึ้น แต่จริงๆแล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่ ดังที่เดวิด ความเมนเอ่ย
ถึงเกี่ยวกับการปกปิดข่าวร้าย ใน The New York Times มีข่าวที่เกี่ยวกับรัฐบาลของเมืองอู่ฮั่นพยายามปกปิดข่าวที่รวมถึงการสั่งให้แพทย์ที่รู้เรื่องไม่ให้เผยแพร่ข่าวหรือบอกต่อกับเพื่อนหรือแพทย์คนอื่น หรือ7 การออกข่าวบิดเบือนความรุนแรง
ของการระบาด หรือการปิดตลาดอาหารทะเลที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ แต่ไม่ได้ห้ามการค้าสัตว์ป่าในตอนแรกๆ
8
การออกข่าวบิดเบือนความจริงนี้รวมถึงการออกข่าวในระยะแรกว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาใหม่ไม่มีการ
แพร่ระบาดระหว่างคนต่อคน (human to human transmission) แต่จำนวนผู้ติดเชื้อที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะหลังๆ
และยังไม่มีท่าทีว่าจะชลอลงนั้น บอกให้รู้ว่าการแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คนแต่เพียงอย่างเดียวคงไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งในเวปไซด์
JAMA มีบทบรรณาธิการที่ระบุว่าจากโมเดลทางคณิตศาสตร์ จำนวนผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาใหม่นี้จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวในทุกๆ
6.4 วัน9 กราฟด้านล่างแสดงให้เห็นว่าโรคระบาดไวรัสโคโรนาใหม่แพร่กระจายได้ดีกว่าโรคซาร์สมากมีจำนวนผู้ป่วยที่
เพิ่มอย่างรวดเร็วทวีคูณ แต่อัตราการตายต่ำกว่าโรคซาร์ส

เส้นแนวตั้งเป็นจำนวนผู้ป่วย เส้นสีแดงแสดงจำนวนผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาใหม่ เส้นสีเทาแสดงจำนวนผู้ป่วยจากโรคซาร์ส เส้นแนวนอน
แสดงจำนวนวันของการแพร่ระบาด ซึ่งข้อความสีดำด้านล่างเส้นนอนระบุวันแรก (31 ธันวาคม 2562) ที่องค์การอนามัยโลกได้รับรายงาน
เกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาใหม่
กราฟจาก The New York Times

การลังเลของรัฐบาลไม่เปิดเผยความจริงทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้เพราะหากยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอน การให้ข่าว
ที่ไม่มีหลักฐานยืนยันเพียงพออาจนำไปสู่การตื่นตระหนกและการหวาดระแวงเกรงกลัวผู้ป่วยและครอบครัวได้ แต่ในขณะ
เดียวกับการพยายามปกปิดข้อมูลที่สำคัญทั้งๆที่ขัดแย้งกับสัญญาณอื่นๆ (เช่น จำนวนคนที่ติดเชื้อที่ยกมาข้างบน) ก็มีผลต่อ
การป้องกันไม่ให้การระบาดลุกลามไปมากเช่นกัน ในปัจจุบันมีหลักฐานที่แสดงถึงการติดเชื้อจากคนสู่คนในประเทศอื่น
รวมถึงประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจีนเพียงแต่เลือกจำบทเรียนบางอย่างจากโรคซาร์สเท่านั้น
จากรายการโรคระบาดจากสัตว์สู่คนที่เดวิด ความเมนยกมา ส่วนมากเริ่มจากค้างคาว เพราะอะไร? ในค้างคาว
ตัวหนึ่งอาจเป็นที่อยู่อาศัยของไวรัสหลายชนิดและไวรัสเหล่านั้นไม่เป็นอันตรายต่อค้างคาวเอง ทั้งนี้อาจเนื่องจากสาเหตุ
หลายอย่าง
ค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีมากกว่า 1,200 ชนิด คิดเป็น 1 ใน 4 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมของทั้งโลก
ทั้งหมด (สัตว์ประเภทหนูมีมากคิดเป็น 1 ใน 2 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด และโรคติดต่อร้ายแรงของคนหลายโรคมา
จากหนู) ค้างคาวเป็นสัตว์ที่มีอยู่ในแทบทุกทวีปของโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา (Antartica) นอกจากนั้นแล้วค้างคาว

จำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ในแหล่งต่างๆที่ใกล้กับคนหรือสัตว์เลี้ยง รวมถึงใต้หลังคา ตึกหรือบ้านร้าง และต้นไม้ สวนผลไม้ และ
ที่สำคัญอีกประการคือสำหรับคนในหลายประเทศค้างคาวถือว่าเป็นอาหารหรือยาชนิดหนึ่ง
ค้างคาวบางชนิดกินแมลงและในแต่ละคืนค้างคาวตัวหนึ่งกินแมลงชนิดต่างๆเป็นจำนวนมากมายและหลีกเลี่ยงไม่
ได้ที่ต้องกินไวรัสที่แมลงเหล่านั้นมีอยู่ด้วย นอกจากนั้นแล้วค้างคาวสามารถบินได้และในแต่ละคืนจะบินไปหากินในที่ไกลๆ
ได้ทำให้สามารถแพร่กระจายไวรัสได้เป็นอย่างดี และขี้ของค้างคาวสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้ด้วย
ค้างคาวมักจะอยู่กันเป็นฝูงเป็นกลุ่มในสถานที่ปิดและที่แออัด ดังนั้นการแพร่ไวรัสและเชื้อโรคต่างๆระหว่าง
ค้างคาวแต่ละตัวทำได้ง่ายและอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นแล้วค้างคาวมีอายุนานพอสมควรเมื่อเทียบกับขนาดตัว ค้างคาว
บางชนิดมีอายุถึง 40 ปี
จากการศึกษาโครงการหนึ่งที่รวมสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 754 ชนิด และไวรัสชนิดต่างๆรวม 586 ชนิด พบว่า
ค้างคาวเป็นแหล่งอาศัยของไวรัสที่สามารถทำให้คนติดเชื้อได้มากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ
10
แต่ไม่ได้หมายความว่าควรจะกำจัดค้างคาวให้หมดไปจากโลก เพราะประการแรกในทางปฏิบัติแล้วการกำจัด
ค้างคาวให้หมดไปจากโลกเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ ประการที่สองค้างคาวที่กินแมลงมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมแมลงต่างๆไม่
ให้มีมากจนเกินไป และแมลงหลายชนิดก็เป็นพาหะของเชื้อโรคต่างๆเช่นกัน ประการที่สามค้างคาวที่กินผลไม้ช่วยผสม
เกสรของผลไม้หลายอย่างเช่น กล้วย มะม่วง และอโวคาโด เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วขี้ค้างคาวยังเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่ดีมาก
ดังนั้นค้างคาวมีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่น

อย่างไรก็ตามท่ามกลางข่าวที่ไม่ดี เดวิด ความเมนได้ชี้ให้เห็นถึงความเสียสละและอุทิศตนของนักวิทยาศาสตร์
มากมายและสถาบันองค์กรต่างๆที่พยายามศึกษาหาไวรัสใหม่นี้ที่รวมถึงการกล้าเสี่ยงเก็บตัวอย่างขี้และฉี่ของค้างคาวใน
ถ้ำต่างๆ การศึกษาไวรัสในห้องปฏิบัติการเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจีโนมของไวรัสที่จะช่วยในการพัฒนาวัคซีนเพื่อ
ป้องกันและยาสำหรับรักษาผู้ที่ติดเชื้อต่อไป
และโชดดีอีกอย่างที่เดวิด ความเมนเขียนถึงคืออัตราการตายจากไวรัสนี้ประมาณ 3% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับโรค
หวัดที่รุนแรงต่างๆแล้ว อัตราการตายของผู้ป่วยที่ติดไวรัสโคโรนาใหม่นี้อาจจะสูงกว่า แต่เป็นอัตราการตายที่ต่ำกว่าการ
ตายจากโรคซาร์ส และอัตราการตายจากไวรัสโคโรนาใหม่นี้ยังคงที่อยู่ และผู้ที่ตายส่วนมากเป็นคนมีอายุระหว่าง 49 - 56
ปี และมักจะป่วยเป็นโรคอื่นอยู่แล้วด้วย ส่วนเด็กอายุน้อยนั้น การติดไวรัสโคโรนาใหม่มักจะมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่และ
ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับเด็กที่เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาใหม่นี้ ซึ่งคล้ายกับโรคระบาดซาร์สและโรคเมอร์สที่เกิดจากไวรัส
โคโรนาเช่นกันก็ไม่มีเด็กอายุน้อยที่ติดโรคและป่วยอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตเลย
11
เดวิด ความเมนปิดท้ายด้วยการให้ข้อคิดว่าเรามีความท้าทายทางคุณธรรมสองอย่างคือในระยะใกล้และในระยะ
ยาว สำหรับระยะใกล้นั้นเราต้องทำทุกอย่างที่สามารถจะทำได้ด้วยการใช้สติปัญญาอย่างสงบสติไม่ตื่นตระหนก และอุทิศ
ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ในการควบคุมและหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาใหม่นี้ก่อนที่มันจะกลายเป็นโรคระบาด
ระดับพหุทวีป สำหรับระยะยาวนั้นเราต้องตระหนักว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาใหม่ไม่ใช้ปรากฏการณ์ใหม่หรือโชค
ไม่ดีที่เกิดขึ้นกับโลกเรา แต่มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวโน้มในการเลือกทางเลือกต่างๆที่มนุษย์ทำขึ้น

ณ ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกยังไม่ประกาศว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาใหม่เป็นการแพร่ระบาดระดับพหุ
ทวีป หรือ pandemic แต่ดูแนวโน้มแล้วประเด็นคงไม่ใช่การยกระดับของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาใหม่ให้เป็นการ
แพร่ระบาดระดับพหุทวีป แต่ประเด็นคงอยู่ที่ว่าองค์การอนามัยโลกจะเรียกว่าการระบาดนี้เป็น pandemic เมื่อไรมากกว่า
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดจำนวนมากมีความเชื่อว่าการระบาดนี้จะกลายเป็นการระบาดพหุทวีปรวมถึง ดร. แอนโธนี ฟาว-
ชิ (Dr. Anthony Fauci) ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อ (the National Institute of
Allergy and Infectious Disease) ของสหรัฐอเมริกาที่กล่าวว่าเนื่องจากโรคนี้ติดต่อได้ง่ายมากเหมือนกับโรคหวัด ดังนั้น
จึงค่อนข้างแน่นอนว่าการแพร่ระบาดนี้จะเป็นกลายเป็นการระบาดระดับพหุทวีป 12 ส่วนบทบรรณาธิการใน JAMA ที่อ้างถึง

ในหมายเหตุ 8 ข้างบนก็ระบุว่ากรุงเทพจะเป็นพื้นที่หนึ่งที่จะมีการติดไวรัสโคโรนาใหม่นี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งแนวโน้มที่เป็น
อยู่ในปัจจุบันก็ชี้ไปในทิศนั้น
หรือว่าโลกอาจจะโชคดีเหมือนกับการระบาดของโรคซาร์สที่หยุดและหายไปเองโดยไม่รู้สาเหตุแน่ชัด แต่มีการ
เดากันว่าไวรัสโคโรนาชอบอากาศเย็น การระบาดของโรคซาร์สจึงหายไปเองเมื่ออากาศร้อนขึ้น ซึ่งทั้งโรคซาร์สและ
โคโรนาใหม่เริ่มเริ่มระบาดประมาณเดือนธันวาคมเหมือนกัน โลกจะโชคดีรอบที่สองหรือไม่นั้นการตัดสินใจที่มองการณ์
ไกลที่รวมถึงการเตรียมความพร้อมต่อโรคระบาดต่างๆโดยเฉพาะที่เริ่มจากสัตว์จึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่ง
หากมีคนท้วงติงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเตรียมความพร้อมต่อโรคระบาดต่างๆนั้น เดวิด ความเมนเตือนว่าคนที่
กังวลต่อเรื่องนี้หากได้เห็นใบเสร็จเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ค่าเสียหายที่เกิดจากโรคระบาดแล้วจะรู้ว่าค่าใช้จ่ายในการเตรียม
ความพร้อมนั้นคุ้มค่าเพียงใด

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1 อาการของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนามีตั้งแต่มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก ไปจนถึงอาการรุนแรงของปอดอักเสบ ซึ่งความรุนแรงขึ้นอยู่กับ
ปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงปริมาณไวรัสที่เข้าไปถึงเนื้อเยื่อปอดและความลึกของไวรัสที่เข้าไปในเนื้อเยื่อปอด อายุของคนไข้ และอาการป่วยอื่นๆที่เป็นอยู่
แล้ว รายละเอียดเกี่ยวกับอาการและการป้องกัน และรักษาพยาบาลมีอยู่ในเวปไซด์ภาษาไทยมากมาย
2 เดวิด ความเมนเป็นนักวิทยาศาสร์และนักเขียนเกี่ยวกับธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่เขียนบทควาในวารสารต่างๆและได้เขียนหนังสือมาแล้ว
มากกว่า 15 เล่ม รวมทั้ง Spillover: Animal Infections and the Next Human Pandemic ที่เป็นหนังสือเกี่ยวกับโรคระบาดร้ายแรงที่มีต้นกำเนิดใน
สัตว์และแพร่ไปสู่มนุษย์ หรือที่เรียกกันว่า Zoonosis
3 จาก We Made the Coronavirus Epidemic: It may have started with a bat in a cave, but human activity set it loose โดย David
Quammen ใน https://www.nytimes.com/2020/01/28/opinion/coronavirus-china.html?
action=click&module=Opinion&pgtype=Homepage
4 จำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย และ ผู้ที่เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาคาดว่าต่ำกว่าความเป็นจริงเพราะมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ถูกปฏิเสธไม่ได้รับการรักษาจากโรง
พยาบาลต่างๆในประเทศจีน เพราะโรงพยาบาลมีคนไข้มากจนไม่สามารถรับคนไข้เพิ่มได้
5 นิยามของ pandemic คือโรคระบาดที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่และครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางอย่างน้อยสองทวีปขึ้นไปหรือทั่วทั้งโลก ดังเช่น การแพร่ระบาดของ
เอชไอวี (HIV pandemic)6 ไวรัสโคโรนาใหม่ของปี 2019 ถือว่าเป็นไวรัสใหม่หรือไม่นั้นยังเป็นประเด็นที่ถกกันได้อยู่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ฮิว เพ็นนิงตัน (Emeritus Professor
Hugh Pennington) ด้านแบคทีเรียวิทยา อธิบายว่าตั้งแต่การระบาดของโรคซาร์สเป็นต้นมามีการติดเชื้อไวรัสโคโรนาหลายครั้งแล้ว รวมถึงโรคระบาด
เมอร์ส ดังนั้นการโผล่ออกมาครั้งนี้ของไวรัสโคโรนาจึงไม่เป็นเรื่องที่แปลก และการเรียกไวรัสโคโรนาที่เริ่มระบาดในเมืองอู่ฮั่นว่าเป็นไวรัสใหม่นั้นอาจ
พิจารณาได้จากการเกิดไวรัสชนิดใหม่ซึ่งอาจเกิดได้จากไวรัสชนิดเดียวกันแต่ต่างสายพันธ์ุกันแลกเปลี่ยนยีนกันและเกิดการรวมตัวใหม่ของยีน
(recombination) หรือไวรัสชนิดใหม่อาจเกิดจากการที่ไวรัสย้ายจากสัตว์ที่มันอาศัยอยู่เดิมตามธรรมชาติ (natural host - เจ้าของบ้าน) ไปสู่สัตว์อีกชนิด
หนึ่ง (host ที่สอง) และย้าย(หรือทำให้ติด)ไปสู่สัตว์เจ้าของบ้านรุ่นที่ 3 และศ. ฮิว เพ็นนิงตันสันนิษฐานว่าเป็นกรณีของไวรัสโคโรนาใหม่ของปี 2019 อ่าน
เพิ่มเติมได้จาก Host to Host to Host ใน London Review of Books Blog https://www.lrb.co.uk/blog/2020/january/host-to-host-to-host?
utm_campaign=20200204%20blog&utm_content=ukrw_nonsubs_blog&utm_medium=email&utm_source=LRB%20blog%20email และ
นักวิจัยชาวจีนกลุ่มหนึ่งคิดว่าไวรัสโคโรนาใหม่นี้กระโดดจากค้างคาวไปสู่งูเห่าหรืองูสามเหลี่ยมและกระโดดต่อไปถึงคน เพราะงูทั้งสองพบอยู่ในถ้ำที่
ค้างคาวที่มีไวรัสอยู่ และงูทั้งสองชนิดนี้ล่าค้างคาวกิน งูทั้งสองชนิดมีขายในตลาดอาหารทะเลและสัตว์ป่าของเมืองอู่ฮั่น แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีปัญหาว่า
ไวรัสชนิดนี้จะอาศัยอยู่และขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ทั้งในสัตว์เลือดอุ่นและสัตว์เลือดเย็นได้อย่างไร (ซึ่งศ. ฮิว เพ็นนิงตัน เขียนใน Blog ที่เอ่ยมาว่าไวรัสโคโรนา
ค่อนข้างจะพิถีพิถันในการเลือกสัตร์เจ้าบ้านและสัตว์ที่จะกระโดดต่อไปหรือที่จะทำให้ติดเชื้อต่อไปพอสมควร) จาก Snakes Are The Likely Source of
China's Deadly Coronavirus. Here's Why โดย Haitao Guo et al. ใน The Conversation 23 Jan 2020 https://www.sciencealert.com/
snakes-are-the-likely-source-of-china-s-deadly-coronavirus-here-s-why

7 นพ. ลี เวนเหลียน (Dr. Li Wenliang) แพทย์ชาวจีนที่เป็นคนแรกๆที่รู้เรื่องการติดเชื้อจากโคโรนาใหม่และพยายามเตือนแพทย์คนอื่นและถูกรัฐบาล
พยายามปิดปากเสียชีตจากการติดเชื้อไวรันโคโรนาใหม่ในตอนเช้า (03.48 น.) ของวันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563
8 จาก As New Coronavirus Spread, China’s Old Habits Delayed Fight โดย Chris Buckley และ Steven Lee Myers ใน https://
www.nytimes.com/2020/02/01/world/asia/china-coronavirus.html
9 จาก 2019 Novel Coronavirus—Important Information for Clinicians โดย Carlos del Rio, MD และ Preeti N. Malani, MD, MSJ ใน https://
jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2760782

10 จาก How Do Bats Live With So Many Viruses? - The New York Times โดย James Gorman ใน https://www.nytimes.com/2020/01/28/
science/bats-coronavirus-Wuhan.html
11 จาก Why the New Coronavirus (Mostly) Spares Children โดย Apoorva Mandavilli ใน https://www.nytimes.com/2020/02/05/health/
coronavirus-children.html?action=click&module=Well&pgtype=Homepage&section=Health ซึ่งอธิบายว่าอาจเป็นเพราะในเด็กที่อายุต่ำกว่า
12 ปีนั้นภูมิคุ้มกันที่ได้มาแต่กำเนิดยังดีอยู่จึงสามารถต่อสู้กันไวรัสต่างๆรวมถึงไวรัสโคโรนาใหม่นี้ได้ ผู้เขียนอธิบายว่าเด็กอายุไม่มากที่ติดไวรัสโคโรนา
มีร่องรอยของปอดบวมที่เกิดจากไวรัสแต่ไม่มีอาการป่วยแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามการที่ยังไม่มีเด็กที่ป่วยหนักและตายจากไวรัสโคโรนาอาจเป็นเพราะ
ยังมีเด็กจำนวนน้อยที่ติดไวรัสก็ได้ หากจำนวนคนที่ติดไวรัสโคโรนามีเพิ่มขึ้น จำนวนของเด็กติดเชื้อที่มีอาการอาจเปลี่ยนไปได้
12 จาก Wuhan Coronavirus Looks Increasingly Like a Pandemic, Experts Say โดย Donald G. McNeil Jr. ใน https://www.nytimes.com/
2020/02/02/health/coronavirus-pandemic-china.html?action=click&module=Well&pgtype=Homepage&section=Health

Tags: